health
สุขภาพ
สังเกตเรียนรู้อาการป่วยต่างๆ
และวิธีรับมือกับโรคของ
หนูแฮมสเตอร์
เมื่อเจ้าหนูแฮมสเตอร์ของเราป่วย สิ่งแรกที่สังเกตได้ง่ายๆเลยคือ
1. ตาแฉะ,ตาปิด
2. หายใจถี่,หายใจเสียงดัง
3. มีน้ำมูก,มีรอยเปียกตรงใต้คาง
4. ซึม,ไม่กินน้ำและอาหาร
5. นอนมากขึ้น ผอมลง ไม่มีแรง
6. ไม่แต่งตัว,ตูดเปียก
หากปล่อยทิ้งไว้อาจอันตรายถึงชีวิต
สาเหตุหลัก
ปัญหา ระบบทางเดินหายใจ
- สุขอนามัยไม่ดี กรงหรือพื้นที่เลี้ยงสกปรก
- ตำแหน่งที่เลี้ยงไม่เหมาะสม อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ร้อนเกินไป เย็นเกินไป ชื้นเกินไป
- การใช้สิ่งปูรองที่ไม่เหมาะสม
- กลิ่น ฝุ่น ควัน เช่น ควันจากธูป ควันจากบุหรี่ ควันจากการทำอาหาร กลิ่นน้ำหอม กลิ่นจากของสกปรก
- โภชนาการอาหารที่ไม่เหมาะสม มีภาวะการขาดสารอาหารบางอย่างเป็นเวลานาน ทำให้อ้วนหรือผอมเกินไป สุขภาพอ่อนแอ
- ความเครียด ภูมิคุ้มกันตก
ปัญหาของสุขภาพฟัน
- พบคางเปียก กินลำบาก
- ฟันยาว แนะนำพาไปตรวจฟันและทำฟัน
- หากฟันยาวและเป็นสเปอร์ จะบาดลิ้นอาจพบการอักเสบของลิ้นร่วมด้วย
- ระมัดระวังเรื่องการให้อาหารที่นิ่มเกินไป
ปัญหาของระบบทางเดินอาหาร
- พบหางเปียกตลอดเวลา
- ถ้าแฮมเตอร์ท้องเสียควรงดอาหารที่มีน้ำ และรีบพาไปพบสัตวแพทย์
- อย่าปล่อยให้กรงสกปรก และหมักหมมเพราะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเพิ่มได้
- ถ้าแฮมเตอร์ท้องผูก อาจเกิดจากการขาดน้ำ แนะนำเช็คน้ำสะอาดเพียงพอ และมีตลอดเวลาหรือไม่ อาจเพิ่มผักสดหรือผลไม้ที่มีน้ำ หรือรีบพามาพบสัตวแพทย์เพื่อเติมสารน้ำให้ร่างกาย
ปัญหาของอุบัติเหตุ
-ให้รีบพามาพบสัตวแพทย์ทันที
- โดนเหยียบ โดนแมวกัด ตกจากที่สูง คือเรื่องที่พบได้บ่อย แฮมเตอร์ตัวเล็กทนกับอาการเจ็บปวดไม่ได้
คำแนะนำ
- การจัดการและโภชนาการอาหารที่ดีคือสิ่งสำคัญ
- เมื่อพบอาการผิดปกติแนะนำพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
- ดูแลเรื่องอุณหภูมิ และการระบายอากาศเพิ่มขึ้น
- ตรวจเช็คการกินได้ของน้ำและอาหารทุกวัน
- ไม่แนะนำให้เลี้ยงในตู้ปลาเพราะการระบายอากาศไม่ดี
- ไม่แนะนำให้ใช้ทรายอาบน้ำปูรองพื้น เพราะระคายเคืองทางเดินหายใจ และหมักหมม
- ควรทำความสะอาดอุปกรณ์เป็นประจำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่แนะนำให้ทำทุกวันเพราะจะมีผลกับกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงทำให้แฮมเตอร์เครียดได้
- ไม่ควรเลี้ยงแฮมเตอร์ ในกรงเดียวกันจำนวนมาก บางพันธุ์ชอบที่จะอยู่ตัวเดียวมากกว่า
- ควรแยกตัวที่แสดงอาการป่วยออกมารักษาไม่เลี้ยงรวมกัน